ใบประกอบวิชาชีพวิศวกร หรือใบกว. จำเป็นสำหรับการทำงานของวิศวกรบางสาขาเท่านั้น เฉพาะงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งานและสาธารณชน หรือแม้จะรับเป็น ฟรีแลนซ์เองก็ตามจะต้องได้รับการอบรมและทดสอบจากสภาวิศวกรในดัานจรรยาบรรณ ความปลอดภัย กฎหมายท้องถิ่นเกี่ยวกับ งานวิศวกรรม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และทักษะวิศวกรรมเสียก่อนจึงจะได้เป็นวิศวกรที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งหมด 8 สาขา ดังนี้
1. งานวิศวกรรมไฟฟ้า กำลัง 5. งานวิศวกรรมอุตสาหการ
2. วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร 6. งานวิศวกรรมเคมี
3. งานวิศวกรรมเครื่องกล 7. งานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
4. งานวิศวกรรมโยธา 8. งานวิศวกรรมเหมืองแร่
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมมีด้วยกัน 4 ระดับ โดยขอบเขตของงานก็จะกว้างขึ้นและมีความรับผิดชอบมากขึ้นตามลำดับ
ภาคีวิศวกรพิเศษ
ภาคีวิศวกร
สามัญวิศวกร
วุฒิวิศวกร
ระดับภาคีวิศวกรพิเศษผู้ที่ขอใบอนุญาตระดับนี้ เป็นผู้ที่อาจเรียนมาน้อยแต่ประสบการณ์สูงมีความถนัดงานก่อสร้างด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษนี้จะอนุญาตให้ผู้ถือใบอนุญาตทำการก่อสร้างได้แค่ด้านใดด้านหนึ่งที่ขอไปเท่านั้น และส่วนใหญ่จะเป็นงานในระดับเล็ก ๆ เช่น สร้างสะพาน ถนน หรืออาคารขนาดเล็ก
ระดับภาคีวิศวกรเป็นระดับที่ผู้ที่ผ่านการศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วศ.บ. คอ.บ. และ อศ.บ. (อุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต) สามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ หากสถาบันการศึกษานั้น ๆ ได้รับการรับรองของสภาวิศวกร โดยปัจจุบันต้องทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ ยื่นขอใบอนุญาต รอผลการพิจารณา ทดสอบ อบรม จึงจะได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพระดับภาคีวิศวกร ซึ่งระดับภาคีวิศวกรนี้มีอำนาจในการเซ็นต์แบบได้ทุกแบบ ต่างกับภาคีวิศวกรพิเศษที่จะก่อสร้างได้เฉพาะงานที่ถนัดเท่านั้น
ระดับสามัญวิศวกรเป็นระดับสำหรับวิศวกรผู้มีประสบการณ์ 3 ปีขึ้นไปยื่นผลงาน ผ่านการทดสอบและสัมภาษณ์
ระดับวุฒิวิศวกรเป็นระดับสำหรับวิศวกรผู้มีประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไปยื่นผลงาน และผ่านการทดสอบและสัมภาษณ์ สามารถเป็น ที่ปรึกษาโครงการได้