Overtime

Overtime ทำงานล่วงเวลา กฎหมายแรงงานที่ผู้ประกอบการควรรู้เพื่อรับมือ

แม้ว่าเทรนด์การทำงานของมนุษย์จะเริ่มทำงานในจำนวนชั่วโมงที่น้อยลง อันเนื่องจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่ปัจจุบันยังมีหลากหลายอาชีพหรือ ฟรีแลนซ์ ที่ต้องการบุคลากรจำนวนมากทำงานล่วงเวลา และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในการบริหารที่เรียกว่า Win-Win สิ่งที่ผู้ประกอบการควรต้องรู้ คือ เรื่องกฎหมายแรงงานแล้วและการสร้างความสมดุลให้กับชีวิตทำงาน

ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับเวลาในการทำงาน เช่น การทำงานล่วงเวลา การทำงานนอกเหนือจากเวลางานหรือกระทั่งการทำงานเป็นกะ เพราะเป็นกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองลูกจ้างในฐานะผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความเป็นธรรมและไม่ถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบเกินสมควร และกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาการทำงาน หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า การทำโอที (Overtime: OT) แก่ลูกจ้าง

เจาะลึกกฎหมายแรงงานทำงานล่วงเวลา

           ตามปกติแล้วเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานของลูกจ้างไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และเมื่อรวมเวลาทำงาน 1 สัปดาห์ต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง แต่เมื่อต้องให้พนักงานทำงานล่วงเวลา สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องรู้ กฎหมายแรงงานในด้านทำงานล่วงเวลามี ดังนี้

  • สถานประกอบกิจการ ต้องกำหนดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาของลูกจ้าง (ส่วนที่เกินจากชั่วโมงการทำงานสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง) ไม่เกินสัปดาห์ละ 24 ชั่วโมงใน 1 ปีแรก หลังจากได้รับการรองรับมาตรฐานแล้ว ในปีที่ 2 ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 18 ชั่วโมง และในปีต่อๆ ไปต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความจำเป็นของลักษณะงาน หรือเป็นการทำงานในช่วงสั้นๆ ตามสถานการณ์พิเศษของการดำเนินธุรกิจเท่านั้น
  • ห้ามมิให้ผู้ประกอบการให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ยกเว้นในกรณีหากมีการหยุดงานจะส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานที่ฉุกเฉิน ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นครั้งคราว โดยนายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น
  • ผู้ประกอบการอาจให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้ สำหรับกิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม สโมสร สถานพยาบาล หรือกิจการอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่การผลิต การจำหน่ายและการบริการ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป
  • ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รวมแล้วต้องไม่เกิน 36 ชม./สัปดาห์

สิ่งที่ต้องรู้การจ่ายค่าล่วงเวลาและทำงานวันหยุด

  1. การทำงานเกิน 8 ชั่วโมง กรณีค่าจ่างรายเดือน หากนายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติเกินกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ให้ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
  2. การทำงานเกิน 8 ชั่วโมง กรณีไม่ได้รับค่าจ้างรายเดือน หากนายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างรายเดือน ให้นายจ้างจ่ายค้าจ้างในวันทำงานสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมง ต้องจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าเท่าครึ่งของอัตราค่าจ่างต่อชั่วโมงในวันงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกิน หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกิน
  3. การทำงานในวันหยุด ให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงและจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินหรือไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่เกินโดยคำนวณเป็นหน่วย

           แม้ว่าการทำงานล่วงเวลา พนักงานจะได้รับ ‘ค่าจ้าง’ มากขึ้นและเป็นแรงจูงใจให้หลายคนอยากทำงานมากขึ้น แต่การทำงานล่วงเวลา อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน จากการทำงานหลายชั่วโมงมากเกินไป ความรู้สึกเหนื่อยล้าและความเครียด ซึ่งท้ายที่สุดพนักงานอาจ Burnout หรือหากเกิดกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างโดยไม่มีความผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย อาทิ เมื่อลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน

Cr.Jobsdb

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.