ปลุกไฟการทำงานในตัวคุณ ด้วยหนังสือสักเล่มที่จะเปลี่ยนการทำงานให้มีพลัง

ปลุกไฟการทำงานในตัวคุณ ด้วยหนังสือสักเล่มที่จะเปลี่ยนการทำงานให้มีพลัง

หลังจากมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 24 ที่มีขึ้นในวันที่ 2-13 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมาซึ่งปีนี้ก็เป็นครั้งแรกที่จัดที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งใครที่ยังไม่มีแพลนว่าจะซื้อหนังสือเล่มไหน เรามีไอเดียสำหรับหนังสือน่าอ่านที่เหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือน ฟรีแลนซ์ หรือใครก็ได้ที่อยากพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น เพื่อปลุกไฟในการทำงาน เหมือนเติมเชื้อเพลิงชั้นดีให้การทำงานในวันใหม่ Read more

สมัครงานทั้งที ไม่เคยเป็นที่ถูกเลือก จะทำยังไงถึงจะได้ถูกเลือก

สงสัยกันอยู่ใช่มั้ย ว่าทำไมคุณถึงถูกปฏิเสธไม่ได้รับเข้าทำงาน? คุณอยากให้บริษัทนั้นบอกเหตุผลคุณตามตรง ว่าทำไมถึงตัดสินใจเลือกคนอื่นที่ไม่ใช่คุณหรือเปล่า? เพราะการสมัครงานทั้งที ไม่เคยเป็นที่ถูกเลือก สักทีมันก็จะเฟลค่อนข้างมากอยู่นะ หรือรับงาน ฟรีแลนซ์ เองก็ตามการรับฟังความจริงที่โหดร้ายบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ยาก แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่าจุดอ่อนของคุณคืออะไร การสัมภาษณ์งานครั้งต่อไปก็อาจจะเป็นเหมือนเดิม ไม่ดีขึ้นก็ได้

 

สมัครงานทั้งที ไม่เคยเป็นที่ถูกเลือก จะทำยังไงถึงจะได้ถูกเลือก

การที่จะวิพากษ์วิจารณ์ใครอย่างตรงไปตรงมา มันไม่ใช่งานที่ HR อยากทำเท่าไหร่ และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ HR ส่วนใหญ่พยายามหลีกเลี่ยงที่จะบอกข้อบกพร่อง หรือแม้กระทั่งแจ้งข่าวร้ายที่ว่าคุณไม่ได้รับการจ้างงาน ฉะนั้นเพื่อช่วยคุณในการเตรียมความพร้อมและป้องกันความผิดพลาดอันอาจจะเกิดขึ้นระหว่างการสัมภาษณ์งาน ได้รวบรวมเหตุผลว่า ทำไมคุณไม่เป็นคนที่ถูกเลือกเข้าทำงานซักที

1. คุณยังไม่ใช่คนที่ “ใช่” สำหรับงานนี้

มันอาจเป็นเรื่องง่ายที่จะนำเสนอว่าคุณเหมาะกับตำแหน่งนี้ผ่านทางตัวหนังสือบนเรซูเม่ (ซึ่งเป็นเหตุผลว่าเรซูเม่ที่ดีจะเป็นใบเบิกทางที่ดีให้กับคุณ) แต่สิ่งสำคัญยิ่งไปกว่าการมีเรซูเม่ที่ดีคือการที่คุณนำเสนอตัวตน ไอเดีย และมุมมองของคุณผ่านการสัมภาษณ์งานว่ามันเข้ากันได้กับสิ่งที่องค์กรต้องการหรือไม่

เพื่อป้องกันการถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่าคุณไม่เหมาะกับงานนี้ คุณควรเริ่มจากการหางานที่เหมาะกับคุณมากที่สุด เลือกบริษัทที่คุณคิดว่าใช่ นั่นคือ คุณควรทำความเข้าใจกับประกาศงานก่อนที่คุณจะสมัคร เพื่อให้คุณได้งานที่ต้องการมากที่สุด

2. คุณกับผู้สัมภาษณ์งานมีเคมีไม่ตรงกัน

ธรรมชาติของคนเรา คือมักชอบคนที่มีเคมีตรงกัน และอยากสนับสนุนคนนั้นมากกว่าคนที่รู้สึกไม่ถูกชะตา คนส่วนใหญ่มักจะชอบคนที่เข้ากับเราได้ การสัมภาษณ์งานก็เช่นกัน ทำอย่างไรคุณถึงจะมีโอกาสทำคะแนนเพื่อสร้างมิตรภาพกับผู้สัมภาษณ์งาน? แน่นอนว่าคุณต้องทำการบ้านเพิ่มเติมค่ะ

ในการเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์งาน การทำการบ้าน หรือหาข้อมูลไม่ควรหยุดอยู่แค่หาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทและตำแหน่งงานเท่านั้น ถ้าเป็นไปได้ คุณควรหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคนที่จะสัมภาษณ์งานคุณด้วย พยายามสืบให้ได้ว่าใครจะเป็นผู้สัมภาษณ์งาน คุณอาจหาข้อมูลเกี่ยวกับเขาคนนั้นจากทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือสอบถามจากเพื่อนหรือคนรู้จักในแวดวงของคุณเกี่ยวกับเขาคนนั้น หากคุณเตรียมตัวมาดี โอกาสในการผ่านรอบสัมภาษณ์งานก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

3. คุณไม่ได้รับเลือกเพราะแพ้ให้กับเส้นสาย

องค์กรโดยมากมีกระบวนการคัดเลือกคนเข้าทำงานโดยใช้วิธีการบอกต่อหรือแนะนำกันมาผ่านทางพนักงานปัจจุบันที่ทำงานอยู่ เพราะ “เพื่อนของเพื่อน” มักจะเป็นที่น่าไว้ใจและให้ความรู้สึกวางใจที่จะรับเข้าทำงานมากกว่าคนแปลกหน้าที่ต้องเริ่มทำความรู้จักใหม่ตั้งแต่ต้น คุณสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการหมั่นสร้างไมตรี และสานต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและเพื่อนของคุณอย่างสม่ำเสมอ โลกแคบไปทันตาถ้าคุณมีเพื่อนหรือญาติที่ทำงานอยู่ที่องค์กรที่คุณอยากทำงานด้วยและเขาเหล่านั้นสามารถช่วยคุณได้

4. คุณดูเหมือนว่าจะอยู่ที่ไหนไม่ได้นาน

แม้ว่าการเปลี่ยนงานบ่อยจะถือเป็นเรื่องธรรมดาสามัญในวัฒนธรรมการทำงานของคนในยุคนี้ แต่ข้อเสียของมันก็คือ การมีประวัติการทำงานที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบนเรซูเม่อาจทำให้คุณถูกมองว่าเป็นคนเหลาะแหละ จับจด ไม่มั่นคง และอยู่ที่ไหนไม่ได้นาน และอาจทำให้คุณเสียโอกาสในการได้งานที่คุณต้องการก็เป็นได้ ฉะนั้นคุณควรใช้ช่วงเวลาในการสัมภาษณ์งานให้เป็นประโยชน์โดยการอธิบายเหตุผลที่ทำให้คุณมีเรซูเม่เช่นนั้น

5. คุณดูพยายามมากเกินไป

การโปรโมทตนเองในการสัมภาษณ์งานถือเป็นศิลปะอันละเอียดอ่อน คุณต้องแสดงออกอย่างมั่นใจ ใช้กลเม็ดและปฏิภาณไหวพริบต่าง ๆ ในการพรีเซนท์ตัวเองให้ดูพอดี ๆ ไม่มากจนดูเป็นคนขี้อวดขี้โม้ หรือหลงตัวเองจนเกินไป คุณควรสร้างความสมดุลระหว่างการโฆษณาความสำเร็จของคุณกับความอ่อนน้อมถ่อมตนและให้เครดิตกับคนรอบข้างที่มีส่วนช่วยให้คุณประสบความสำเร็จด้วย

6. คุณทำผิดพลาดมากเกินไประหว่างการสัมภาษณ์งาน

ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดพลาดที่เกิดจากความประหม่าในขณะสัมภาษณ์งานนั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ยอมรับกันได้ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่ใช่ตัวบ่งบอกว่าเราเป็นคนอย่างไรแต่การที่เราแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นอย่างไรต่างหากที่จะบ่งบอกถึงอุปนิสัยของเรา การแก้ไขข้อผิดพลาดที่ชาญฉลาดจะเป็นตัวบอกว่าคุณมีปฏิภาณไหวพริบและมีคอมมอนเซนส์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญในการทำงานภายใต้ความกดดันต่าง ๆ เช่น การเผชิญหน้ากับลูกค้าที่กำลังวีนเหวี่ยง เป็นต้น การฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเล็ก ๆ น้อย ๆ บ่อย ๆ จะช่วยให้คุณผ่านพ้นสถานการณ์อันน่าอึดอัดหากมันเกิดขึ้นกับคุณระหว่างการสัมภาษณ์งานครั้งต่อไป

7. คุณปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ได้

เหตุผลข้อนี้เกี่ยวข้องโดยตรงหากคุณต้องไปเป็น expat หรือต้องไปทำงานต่างประเทศที่คุณไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศนั้น ๆ ถ้าคุณไม่เคยไปประเทศนั้นเลย คุณควรศึกษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างละเอียดก่อนการเข้าสัมภาษณ์งานเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ความสำคัญระหว่าง พนักงานเก่ากับพนักงานใหม่ แบบไหนดีกว่ากัน

แน่นอนว่าไม่มีองค์กรไหนหรือบริษัทใดที่จะมีแต่พนักงานคนเดิม ชุดเดิมอยู่ทำงานตั้งแต่ก่อตั้งจวบจนถึงปัจจุบันอย่างแน่นอน ตามวงจรชีวิตการทำงานก็จะมีทั้งพนักงานคนเก่าและพนักงานคนใหม่หรือแม้แต่ ฟรีแลนซ์ ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ขึ้นอยู่ที่ว่าบริษัทนั้น ๆ ตอบโจทย์ของพนักงานได้มากน้อยแค่ไหน เพราะพนักงานแต่ละคนก็มีเงื่อนไขในการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน และแน่นอนว่าเมื่อมีพนักงานเก่าก็ต้องมีพนักงานใหม่ บางองค์กรอาจจะไม่มีปัญหา แต่ในหลาย ๆ องค์กรกลับเกิดปัญหาระหว่างพนักงานเก่ากับพนักงานใหม่อย่างไม่น่าเชื่อ

 

ความสำคัญระหว่าง พนักงานเก่ากับพนักงานใหม่ แบบไหนดีกว่ากัน

ข้อดีของพนักงานใหม่

ช่วยแบ่งเบางาน เพราะเหตุผลหลักที่หลาย ๆ บริษัทเปิดรับพนักงานใหม่ก็เพื่อมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำงานภายในออฟฟิศนั่นเอง
ว่านอนสอนง่าย เพราะเป็นพนักงานใหม่ ยังไม่รู้จักใคร ย่อมไม่มีปากมีเสียง หรือไม่เป็นตัวตั้งตัวดีในการก่อปัญหากับคนอื่น ๆ แน่นอน
มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะด้วยความที่เป็นน้องใหม่ ไม่ว่าจะเป็นน้องใหม่วัยเพิ่งเรียนจบ หรือจะเป็นใหม่ที่นี่แต่เก่ามาจากที่อื่นก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีความคิดใหม่ ๆ ติดตัวมาเสมอ ส่วนหนึ่งด้วยความที่มาจากอีกองค์กรหนึ่ง มาจากอีกมุมองหนึ่งเลยเสมือนเป็นตัวกระตุ้นความสร้างสรรค์ให้ทีมได้
กระตือรือร้น ด้วยความที่เป็นน้องใหม่ ย่อมมีไฟในการทำงานมากเป็นธรรมดา ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจหากน้องใหม่ในทีมจะสามารถทำงานได้เป็นตั้ง ๆ หรือสั่งอะไรก็สามารถทำให้ได้ทันที
เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ง่าย เพราะด้วยความสด ความใหม่นั่นเองที่ทำให้พนักงานใหม่เปรียบเสมือนน้ำที่ยังไม่เต็มแก้ว พร้อมที่จะรับรู้สิ่งใหม่ ๆ เสมอ ๆ และที่สำคัญส่วนใหญ่มักจะเรียนรู้ได้เร็วเสียด้วย
ข้อเสียของพนักงานใหม่

ประสบการณ์น้อย หรือไม่มีประสบการณ์เลย ซึ่งเป็นข้อเสียที่มักจะพบได้บ่อย ๆ
เสียเวลาในการเทรน สำหรับน้อง ๆที่เพิ่งเรียนจบถือว่าต้องสอนกันยาวไหนจะการปรับตัวให้เข้ากับโลกใหม่ ไหนจะต้องปรับตัวให้เข้ากับบริษัท ไหนจะต้องเรียนรู้งานอีกกว่าจะสามารถทำงานได้เต็มที่จริง ๆ ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร หรือแม้แต่คนที่มีประสบการณ์มาแล้วก็ตาม อย่างไรก็ต้องเสียเวลาในการปรับตัวกับองค์กรใหม่ เรียนรู้งานใหม่ เพราะบริษัทแต่ละแห่งแม้จะเป็นงานในขอบเขตที่เหมือนกัน แต่วิธีการทำงานอาจจะไม่เหมือนกัน
ค่าใช้จ่ายสูง ปัจจุบันมีการกำหนดฐานเงินเดือนขั้นต่ำไว้อยู่แล้ว ไหนจะค่าเทรนกว่าจะทำงานได้ดีอีก บริษัทก็ถือว่ามีค่าใช้จ่ายตรงนี้ด้วย
ไม่แน่นอน บางครั้งฝ่ายบุคคลต้องประสบปัญหาพนักงานไม่มาทำงานโดยไม่แจ้งล่วงหน้า หรือตอบตกลงมาทำงานแล้วแต่ถึงเวลากลับไม่มาทำงาน หรือแม้แต่พนักงานใหม่ที่ทำงานอยู่บางคนก็อาจจะอยู่ไม่ทน พอถึงระยะหนึ่งก็ลาออก ทำให้ต้องประกาศรับคนใหม่อีกแล้ว
ข้อดีของพนักงานเก่า

ทำให้งานราบรื่น ด้วยความที่ทำงานมานาน มีประสบการณ์ ฉะนั้นจึงไม่ทำให้บริษัทต้องสะดุดหรือชะงักแน่นอน
รู้งาน เพราะทำงานมานานสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดีเพราะมีประสบการณ์ในการทำงานแล้ว ย่อมมีทักษะในการแก้ไขปัญหาได้
รู้จักบริษัท รู้ประวัติความเป็นมาของบริษัท รู้ที่มาที่ไปและวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไร จึงสามารถปรับตัวให้อยู่ได้อย่างไม่อึดอัด
มั่นคง ส่วนใหญ่พนักงานเก่ามักจะมีอายุงานนาน มักจะไม่เปลี่ยนงานบ่อย ๆ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเทรนด์งาน สามารถสั่งงานได้เลย
ข้อเสียของพนักงานเก่า

เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ช้า ทำให้บางครั้งตัวบริษัทไม่สามารถปรับเปลี่ยนตามกระแสโลกภายนอกได้ทัน ก็กลายเป็นองค์กรล้าสมัยไป
มีความคิดเป็นของตัวเอง ด้วยความที่ทำงานมานาน มีประสบการณ์การทำงานเยอะกว่าทำให้พนักงานเก่ายึดความคิดของตัวเองเป็นหลัก จนปิดกั้นแนวทางการทำงานใหม่ ๆ
ความคิดไม่ค่อยสร้างสรรค์ ส่วนหนึ่งด้วยความที่ต้องทำงานเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทำให้ไม่ค่อยได้พัฒนาความคิด หรือความสร้างสรรค์ใหม่ ๆ งานที่ออกมาจึงเป็นงานเดิม ๆ
หมดไฟ พนักงานเก่าหลาย ๆ คนเริ่มมีครอบครัว มีหน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีเวลาทุ่มเทให้กับงานน้อยลง บางคนทำงานหนักที่ออฟฟิศ กลับบ้านก็ต้องมาทำงานบ้าน ดูแลบ้าน ดูแลครอบครัว พอหัวตกถึงหมอนก็หลับเป็นตาย เช้าตื่นมาก็ไปทำงาน แล้วก็วนลูปอยู่อย่างนี้ทำให้ค่อย ๆ หมดไฟกับการทำงานไปในที่สุด

ทักษะการวางตัว เพื่อให้เจ้านายมองเห็นถึงความพยายามของคุณ

การวางตัวในที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญ หากอยากประสบความสำเร็จ ต้องฉลาดคิด ฉลาดพูด เรื่องบางเรื่อง การกระทำบางอย่างไม่ควรแสดงออกต่อหน้าเจ้านาย ถึงแม้จะรับจ้าแบบ ฟรีแลนซ์ คุณอาจไม่คิดอะไร แต่เรื่อง ทักษะการวางตัว แบบนี้เจ้านายให้ความสำคัญ ดังนั้นต้องคิดทุกครั้งก่อนที่จะพูดอะไรออกไปการวางตัวในที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญ หากอยากประสบความสำเร็จ ต้องฉลาดคิด ฉลาดพูด เรื่องบางเรื่อง การกระทำบางอย่างไม่ควรแสดงออกต่อหน้าเจ้านาย ถึงแม้ว่าคุณอาจไม่คิดอะไร แต่เรื่องแบบนี้ เจ้านายให้ความสำคัญ ดังนั้นต้องคิดทุกครั้งก่อนที่จะพูดอะไรออกไป

ทักษะการวางตัว เพื่อให้เจ้านายมองเห็นถึงความพยายามของคุณ

ทักษะการวางตัว เพื่อให้เจ้านายมองเห็นถึงความพยายามของคุณ

1. ผม/ ฉันทำงานนี้เพราะเงิน แม้ว่าเจ้านายอาจรู้ว่า เงินคือแรงจูงใจของคุณ และคุณก็คิดว่าเจ้านายรู้แล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ควรพูดออกไป
2. ผม/ ฉันจะลาออก เมื่อผม/ ฉัน… คุณไม่ควรให้เจ้านายล่วงรู้ถึงแผนการในอนาคตของคุณ เช่น คุณกำลังเก็บเงินเพื่อไปประกอบกิจการส่วนตัวในอนาคต หรือคุณกำลังจะเรียนต่อ หากปล่อยให้เจ้านายรู้ เจ้านายอาจรีบหาพนักงานคนใหม่มาแทนคุณ และทำให้คุณต้องออกจากงานก่อนเวลาอันควรก็ได้
3. ไม่ใช่ความผิดของผม/ ฉัน การปัดความรับผิดชอบ ไม่ใช่วิสัยของมืออาชีพ หากคุณไม่อยากถูกมองว่าทำตัวเป็นเด็ก ๆ ควรกล้าที่จะเผชิญหน้า กับความจริงเมื่อคุณทำผิดพลาด และหาทางแก้ไขปัญหาให้คลี่คลาย จะดีกว่าการพูดว่า “ไม่ใช่ความผิดของผม/ ฉัน”
4. งานนี้ง่ายเกินไป คุณอาจคิดว่างานง่าย ๆ อย่างนี้ไม่ต้องให้คุณทำก็ได้ คิดได้แต่ไม่ควรให้เจ้านายรู้ เพราะเจ้านายอาจคิดว่า เขาไม่จำเป็นต้องจ้างคุณในเงินเดือนแพง ๆ เพื่อมาทำงานง่าย ๆ อย่างนี้ก็ได้ เขาอาจจ้างคนที่เก่งน้อยกว่า เงินเดือนน้อยกว่ามาทำงานแทนคุณ แล้วสุดท้ายคนที่จะลำบากก็คือตัวคุณเอง
5. ผม/ ฉันทำไม่ได้ เพราะผม/ ฉันมีงานอื่น ในสายตาของเจ้านาย คุณไม่ควรเอางานเสริมของคุณมาเป็นข้ออ้างในการที่ไม่สามารถกลับบ้านดึก ไม่สามารถทำงานล่วงเวลา หรือไม่สามารถทำงานให้เสร็จตรงเวลาได้ เขาอาจถามคุณว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทำก่อน-หลัง ซึ่งคุณควรรู้คำตอบดีอยู่แล้ว
6. แสดงออกทางสีหน้า ดวงตา และน้ำเสียง การกระทำสำคัญกว่าคำพูดเสมอ คุณจึงไม่ควรแสดงออกด้วยการถอนหายใจ กรอกตาหรือขึ้นเสียงกับเจ้านาย เมื่อคุณรู้สึกไม่พอใจ การเงียบและวางเฉยเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
7. ทำเองสิ คนที่กล่าวคำพูดนี้ออกมา จะดูเป็นคนที่ไม่มีน้ำใจ และเห็นแก่ตัวขึ้นมาทันที ดังนั้นจงอย่าพูดคำนี้ออกมาเด็ดขาด หากคุณไม่สามารถช่วยเหลือเขาได้ ให้หาทางเลี่ยง และเลือกใช้คำพูดที่ไม่ทำร้ายจิตใจผู้อื่นจะดีกว่า
8. ผม/ ฉันจะหลับแล้ว แม้ว่าคุณจะง่วงมากในขณะทำงาน จนแทบจะลืมตาไม่ขึ้น แต่คุณควรจะแสร้งทำเป็นว่าคุณยังคงตั้งใจทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรจะยอมรับและพูดออกมาว่า คุณกำลังจะหลับจริง ๆ
9. ให้ผม/ ฉันหาแฟนให้ไหม ไม่ควรหาคู่ให้เจ้านาย แม้ว่าเจ้านายคุณยังโสดอยู่ก็ตาม นั่นหมายรวมถึง ไม่ควรให้ความสนิทสนมกับเจ้านายมากเกินไป ควรจำกัดขอบเขตความสนิทสนมไว้ด้วย เช่น ไม่ควร add เจ้านายเป็นเพื่อนใน facebook ของคุณ หากคุณไม่ต้องการให้เจ้านายรู้เรื่องของคุณมากเกินไป

รับมือจัดการงานหนัก เริ่มต้นงานทุกวันด้วยความสนุกและมีความสุข

เริ่มต้นสัปดาห์ของการทำงาน เป็นช่วงเวลาที่ต้องฝ่าฝันกับความขี้เกียจหลังวันหยุดสุดสัปดาห์ และงานจะพีคสุด ๆ อย่าบอกใคร ทั้งงานเก่าที่ค้างมาจากอาทิตย์ที่แล้ว วิธีรับมือจัดการงานหนัก แถมยังมีงานของอาทิตย์นี้จ่อรออยู่อีก เริ่มต้นสัปดาห์การทำงาน ก็ช่าง busy สุด ๆ จนแทบไม่มีเวลาหายใจหายคอ มาปลุกพลังการทำงานกันใหม่ด้วยวิธีต่อไปนี้

รับมือจัดการงานหนัก เริ่มต้นงานทุกวันด้วยความสนุกและมีความสุข

รับมือจัดการงานหนัก เริ่มต้นงานทุกวันด้วยความสนุกและมีความสุข

1. เริ่มต้นวันใหม่ให้สดชื่น

เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ปลุกพลังให้ชีวิตตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า ออกมายืดเส้นยืดสาย สัมผัสธรรมชาติ สายลมแสงแดด สูดอากาศยามเช้าให้เต็มปอด รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ช่วยสร้างความสดชื่น สดใส ทำให้สมองปลอดโปร่ง มีพลังดี ๆ ที่จะเริ่มต้นงานในวันใหม่ได้อย่างกระฉับกระเฉงมากกว่าที่เคย

2. ปลุกขวัญกำลังใจให้ตัวเอง

มาเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้ฮึกเหิม เชื่อมั่นในตัวเองว่าเราจะสามารถผ่านพ้นกองงานเท่าภูเขาเลากาเหล่านี้ไปได้ในที่สุด กำลังใจที่เข้มแข็งจะทำให้รู้สึกฮึดสู้ อย่าลืมมองดูรอบ ๆ ตัวเรา เพื่อนร่วมงานของเราอีกหลายชีวิตก็กำลังฝ่าฟันทำงาน พยายามเอาชนะอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ นานาเหมือนเราอยู่เช่นกัน ตัวเราไม่ได้เป็นคนเดียวที่ทำงานหนักอย่างแน่นอน

3. วางแผนได้ สำเร็จง่ายขึ้น

ต้องรู้จักวางแผนการทำงาน เริ่มจากจดทุกอย่างที่ต้องทำไว้ โดยเรียงลำดับตามความสำคัญของงาน เมื่อทำเสร็จก็ขีดฆ่าออกไป รู้สึกดีใช่ไหมที่สามารถเคลียร์งานแต่ละตัวออกไปได้อย่างต่อเนื่อง หรือจะลองจัดสรรเวลาทำงานโดยใช้หลักการของ Pareto ยึดหลัก 20/80 แบ่งงานของเราออกเป็น 2 ประเภท คือ งานสำคัญมากที่สุด 20% ที่เหลือ 80% คืองานที่สำคัญรองลงมา แล้ววางแผนต่อว่า 80% ของเวลาทำงานในแต่ละวัน เราได้ทุ่มเทกับงานสำคัญ 20% ที่ว่านี้อย่างเต็มที่หรือไม่ หากรู้จักวางแผน จัดลำดับความสำคัญของทุกสิ่งอย่างแล้ว การงานทุกอย่างก็จะลงตัวมากขึ้น และทำให้สำเร็จได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

4. ใช้เส้นตายและเป้าหมายเป็นแรงกระตุ้น

นอกจากเส้นตายที่เจ้านาย หัวหน้า หรือลูกค้ากำหนดไว้ จะเป็นเชื้อไฟในการทำงาน (วินาทีสุดท้าย) ได้เป็นอย่างดี หรือจะลองใช้วิธีที่ดีต่อใจมากกว่า ด้วยการตั้งเป้าหมายว่าหากทำงานนี้เสร็จ เราอยากทำอะไร หรือจะให้รางวัลอะไรกับตัวเอง มีเป้าหมายมาล่อใจอย่างนี้ มีพลังในการทำงานอย่างแน่นอน

5. หากไม่ไหว … ต้องให้ทีมช่วย

หากปริมาณงานที่ได้รับมอบหมายมากเกินไป ไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในวันเดียว ต้องรีบแจ้งหัวหน้างานให้ช่วยหาวิธีแก้ปัญหาทันที ดีกว่าให้งานทั้งหมดมากองอยู่ที่เรา จนต้องล่าช้าส่งผลกระทบไปยังส่วนงานอื่น ๆ ทางที่ดีอาจให้ทีมเข้ามามีส่วนร่วม รวมพลังร่วมด้วยช่วยกัน แถมตอนช่วยกันทำงานยังได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเรื่องงาน สร้างความสัมพันธ์อันดีไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ

6. ต้องสู้จึงจะชนะ

พึงระลึกไว้เสมอว่า งานยากเป็นงานที่ท้าทายความสามารถ งานหนักสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้กับตัวเรา เมื่อค่อย ๆ เรียนรู้ปัญหาและหาทางแก้ไขได้ เราจะค้นพบตัวเองว่าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต่อไปเมื่อต้องเจอกับงานยากเท่าไหร่ก็ไม่หวั่น เพราะที่สุดแล้วเราก็จะผ่านไปได้ เพราะเคยผ่านมันมาแล้ว แทนที่คำว่า “ทำไม่ได้” ด้วยคำว่า “ทำอย่างไร” เอาชนะได้ทุกอุปสรรค พร้อมพัฒนา skill การทำงานไปในตัว

7. พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ เติมไฟในการทำงาน

จงทำตัวเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้วอยู่เสมอ อย่าเพิ่งมั่นใจว่าทำงานมาหลายปีแล้วเราจะเป็นคนทำงานเก่งและมีประสิทธิภาพเสมอไป เพราะเรื่องการทำงานนั้น เราสามารถเรียนรู้และพัฒนาให้ดีขึ้นได้ในทุกวัน เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ให้กลายเป็นคนกระตือรือร้น ตื่นตัวที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และศึกษางานใหม่ ๆ อยู่เสมอ เมื่อมีปัญหาก็ฝึกแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เรียนรู้จากความผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง แล้วหนทางของความสำเร็จในสายอาชีพก็จะไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป

8. ออกจากกรอบ หลีกหนีความจำเจ

การอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ทำอะไรซ้ำ ๆ เดิม อยู่ทุกวัน นำไปสู่การเบื่องานได้ในที่สุด แถมยิ่งหนักเป็นสองเท่า หากเจอสถานการณ์งานรุมเร้า เพราะทั้งเบื่อและทั้งเหนื่อย ทางที่ดี อย่าทำตัวให้คุ้นชินกับสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ออกจากสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ ไปหาบรรยากาศใหม่ ๆ ในการทำงาน ลองเปลี่ยนมุม หรือย้ายที่นั่งทำงานชั่วคราว จะได้เกิดแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในการทำงาน กระตุ้นให้อยากสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้น และมีประสิทธิผลมากขึ้น

9. สร้างจุดเด่น เพิ่ม Talent ให้ตัวเอง

หาสิ่งที่เป็นจุดแข็ง สิ่งที่เราเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการทำงาน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นมืออาชีพ คนที่สามารถรับผิดชอบต่อเรื่องคุณภาพ ต้นทุน เวลาส่งมอบงาน และสามารถสร้าง output ได้มากกว่าที่องค์กรคาดหวัง จะเป็นบุคลากรคุณภาพที่มักจะได้รับความไว้วางใจให้ทำงานสำคัญ ๆ อยู่เสมอ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเองในการทำงาน แล้วเราจะรู้สึกว่าตัวเองเก่งขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเกิดความชำนาญแล้ว อะไร ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป อีกทั้งยังสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขในทุกวัน

10. ดูแลตัวเอง รู้จักพัก เพิ่มพลังให้ชีวิต

ทุ่มเททำงานหนักแล้วก็อย่าลืมหาเวลาพักบ้าง ดูแลตัวเองกันด้วย เพราะร่างกายไม่ใช่เครื่องจักร ยิ่งทำงานหนักก็ยิ่งต้องใส่ใจดูแลสุขภาพ หาเวลาออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำตลอดอย่าให้ขาด หาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ หรือจะลองฝึกสมาธิเพื่อ refresh สมองก็ดีไม่น้อย การดูแลตัวเองเป็นอย่างดีจะทำให้มีสุขภาพกายแข็งแรง เพิ่มพลังกาย พลังใจ และพลังสมองในการทำงานหนักได้ต่อไป

หลายคำถามที่ต้องตอบ ก่อนเปลี่ยนงาน ที่ทำอยู่

สำหรับคนทำงานยุคใหม่ การเปลี่ยนงานบ่อยดูจะเป็นเรื่องที่ปกติไปซะแล้ว แต่คุณต้องคิด ก่อนเปลี่ยนงาน ว่า เมื่อผู้ประกอบการเห็นประวัติการทำงานในโปรไฟล์หรือเรซูเม่ว่า “คุณเปลี่ยนงานบ่อยเกินไป” จะทำให้มีผลต่อการพิจารณารับเข้าทำงานได้ รวมถึงบรรดาเหล่า ฟรีแลนซ์ ผู้ประกอบการอาจคิดว่า คุณไม่มีความมั่นคงและไม่มีแรงจูงใจในการทำงานก็เป็นได้ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ไม่รับคุณเข้าทำงาน ฉะนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนงานครั้งนี้ น่าจะดี ถ้าคุณได้พิจารณาถึงเหตุผลของการเปลี่ยนงานก่อนว่า “อะไรเป็นแรงจูงใจในการเปลี่ยนงาน” ซึ่งมีอยู่ 6 ปัจจัยด้วยกันที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน และความพึงพอใจในงาน แค่คุณตอบคำถามทั้ง 6 ข้อด้านล่างนี้ คุณก็จะทราบว่า ถึงเวลาที่คุณจะต้องเปลี่ยนงานแล้ว หรือคุณยังมีความสุขดีกับการทำงานที่เดิมที่นี่

หลายคำถามที่ต้องตอบ ก่อนเปลี่ยนงาน ที่ทำอยู่

หลายคำถามที่ต้องตอบ ก่อนเปลี่ยนงาน ที่ทำอยู่

1. คุณได้รับเงินเดือนและสวัสดิการในอัตราที่ใกล้เคียงกับบริษัทอื่นในสายงานเดียวกันหรือไม่?

เงินเดือนเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญ ที่ใช้ในการพิจารณาก่อนเปลี่ยนงานเลยก็ว่าได้ แต่ก็ไม่ควรมองข้ามปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น เพื่อนร่วมงานที่ดี, การสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน และบรรยากาศที่ดีในการทำงาน เป็นต้น หากคุณพิจารณาจากทั้ง เงินเดือน สวัสดิการ และปัจจัยอื่น ๆ แล้วว่า ตัวคุณเองมีคุณค่ามากกว่าสิ่งที่คุณได้รับอยู่ ลองหาโอกาสพูดคุย ต่อรองกับหัวหน้างานหรือเจ้านายของคุณดูว่าจะได้ผลหรือเปล่า

2. การทำงานของคุณมีความท้าทายมากพอหรือไม่

ถ้าคุณกำลังเบื่องานที่ทำ คุณจะรู้สึกว่าไม่มีกระจิตกระใจที่จะทำงานอะไร แรงบันดาลใจไม่มี ความคิดสร้างสรรค์ไม่เกิด สาเหตุอาจมาจากงานที่คุณรับผิดชอบเป็นงานเดิม ๆ ไม่มีอะไรใหม่ จึงทำให้หมดความท้าทายในการทำงานไป ให้คุณลองคิดทำโปรเจคใหม่ ๆ เพื่อแสดงศักยภาพในการทำงาน และสร้างความประทับใจให้หัวหน้าหรือเจ้านายเห็น จากนั้นดูว่าคุณมีได้ขยับขยาย ได้เลื่อนตำแหน่งเพื่องานที่ท้าทายมากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ หรือได้ขึ้นเงินเดือนบ้างหรือเปล่า

3. คุณเหมาะกับวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทที่คุณทำงานอยู่หรือเปล่า?

สไตล์การทำงานและการบริหารงานขององค์กร ในบริษัทที่คุณทำงานอยู่ เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมกับตัวคุณหรือไม่? ถ้า “ใช่” คุณคือหนึ่งในผู้โชคดี เพราะความเข้ากันได้นี้ จะทำให้คุณมีความสุขในการทำงาน และสร้างผลงานได้อย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ

4. มีสมดุลกับชีวิตส่วนตัวในงานปัจจุบันหรือไม่?

ความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานเป็นสิ่งสำคัญกับคุณหรือไม่? ถ้า “ใช่” ลองสังเกตุดูว่า ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ถ้างานที่คุณทำอยู่ตอนนี้ ทำให้สุขภาพของคุณทรุดโทรม ทั้งเครียด ทั้งป่วย นี่ก็เป็นสาเหตุที่ดี ที่คุณควรเปลี่ยนงาน เพราะเงินก็ไม่สามารถทำให้สุขภาพของคุณกลับมาสมบูรณ์ 100 เปอร์เซนต์ได้หรอก

5. ถ้ายังทำงานอยู่ที่นี่ คุณมีโอกาสที่จะเติบโตในสายอาชีพนี้ต่อไปหรือเปล่า?

ถ้าคุณเล็งเห็นแล้วว่า การเปลี่ยนงาน จะทำให้คุณสามารถเติบโตในสายอาชีพไปได้ไกลกว่านี้ ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าคุณยังไม่ได้แจ้งให้กับหัวหน้างานหรือเจ้านายทราบ ให้คุณลองดูว่า คุณค่าในตัวคุณ และผลงานคุณภาพต่าง ๆ ที่คุณได้สร้างขึ้น ทำให้พวกเขาพยายามรักษาคนทำงานคุณภาพเช่นคุณไว้หรือเปล่า หรือพวกเขาหาวิธีที่ดีที่สุด เพื่อให้คุณได้มีความก้าวหน้าในสายอาชีพต่อไปหรือไม่

6. คุณชอบสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือไม่?

สภาพแวดล้อมในการทำงาน ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม อย่างตอนเช้าคุณต้อง ตื่นเช้าแค่ไหน เพื่อออกมาฝ่าปัญหารถติดไปทำงาน บางวันไปถึงที่ทำงานสาย ก็อาจทำให้คุณเสียสิทธิบางอย่างตามกฎระเบียบของออฟฟิศไป จะดีกว่ามั้ย หากคุณจะเปลี่ยนงาน เปลี่ยนที่ทำงานให้ใกล้บ้านมากขึ้น หรือว่าจะเป็นหัวหน้างาน เจ้านายหรือเพื่อนร่วมงาน ก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานได้ ลองสำรวจดูว่า คุณทำงานกับพวกเขาด้วยความสบายใจหรือเปล่า เพื่อนร่วมงานของคุณ สามารถเชื่อใจได้ ทำงานได้ดี ทำงานด้วยกัน แล้วสมาชิกในทีมมีความเข้ากันได้มากน้อยแค่ไหน เพราะสิ่งเหล่านี้ จะส่งผลต่อทั้งคนในทีมและบริษัท สภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเหมือนกัน

cr.jobsdb

รับมือกับลูกน้องเก่งๆ ไม่ใช่เรื่องยากแค่ทำตามเทคนิคที่แนะนำ

ในโลกการทำงานจริงนั้น บ่อยครั้งที่เจ้านายหรือหัวหน้าอาจไม่ได้เฉียบแหลมกว่าลูกน้องเสมอไป การ รับมือกับลูกน้องเก่งๆ ไม่ใช่เรื่องยากแค่ทำตามเทคนิคที่แนะนำ คล้ายคลึงกับเรื่องราวของเล่าปี่กับขงเบ้ง หรือแม้แต่แม่ทัพที่เกรียงไกรย่อมต้องมีทหารเอกเก่ง ๆ คู่ใจ ยามรบกับใครก็มักได้รับชัยชนะอยู่เสมอ เปรียบเหมือนการมีคนเก่ง ๆ หรือลูกน้องฝีมือดีอยู่ในองค์กร พวกเขาเหล่านี้นี่แหละที่จะมีบทบาทสำคัญ ช่วยส่งเสริมการทำงานให้เราประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ก้าวสู่เส้นชัยได้ตามความมุ่งหวังตั้งใจ

รับมือกับลูกน้องเก่งๆ ไม่ใช่เรื่องยากแค่ทำตามเทคนิคที่แนะนำ

รับมือกับลูกน้องเก่งๆ ไม่ใช่เรื่องยากแค่ทำตามเทคนิคที่แนะนำ

แทนที่เจ้านายหรือหัวหน้าจะรู้สึกนอยด์หรือกลัวเสียหน้าเมื่อมีลูกน้องที่ทำงานเก่งกว่า ให้ลองเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ พลิกสถานการณ์ให้เป็นความท้าทาย แม้ความเชื่อเดิม ๆ หรือภาพจำส่วนใหญ่ อาจทำให้เรารู้สึกว่าคนเก่งโดยมากมักมีความมั่นใจและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ทำให้ควบคุมบริหารจัดการได้ยาก สำหรับเรื่องนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวลจนเกินไปนัก เพราะบรรดาผู้นำที่ประสบความสำเร็จทั้งหลายล้วนมีกุศโลบายรับมือจัดการกับลูกน้องเก่ง ๆ ได้ พอจะหยิบยกมาเป็นแนวทางให้สามารถนำไปปรับใช้กันได้ตามความเหมาะสม

  1. ใช้คนเก่งให้เป็นประโยชน์ – เมื่อมีคนเก่งอยู่ในทีม จงใช้ข้อได้เปรียบนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด พยายามดึงความสามารถต่าง ๆ ของพวกเขาออกมาใช้ ค้นหาว่าพวกเขามีจุดเด่นในเรื่องใด อะไรเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องเรียนรู้เพิ่มเติม แล้วท้าทายพวกเขาด้วยการมอบหมายงานที่จะสามารถนำคนเก่งเหล่านี้ไปสู่ความก้าวหน้าในอนาคตได้
  2. เรียนรู้จากคนเก่ง -เปลี่ยนการแย่งซีน การแข่งขันชิงดีชิงเด่น ให้เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน หัวใจสำคัญของการบริหารคือการจัดการคนและกำหนดทิศทางในการทำงานให้ทีม ไม่ใช่การแข่งขันประลองความรู้กับลูกน้อง คนเป็นหัวหน้ามีหน้าที่ต้องเอาชนะใจไม่ใช่เอาชนะงาน ดังนั้น ถ้าลูกน้องเก่งกว่าก็เรียนรู้จากเขา ถามคำถาม และบางครั้งอาจลงมือทำเองบ้าง เพื่อจะได้มีโอกาสสัมผัสกับหน้างานจริง ๆ อย่ามองว่าเป็นเรื่องเสียฟอร์ม เสียการปกครอง ไม่แน่ว่าการใส่ใจถามไถ่เรื่องงานของหัวหน้า ถ้ามาถูกทาง อาจเกิดผลพลอยได้ในเรื่องการสร้างความยอมรับ และเป็นการกระชับความสัมพันธ์กันอีกทางหนึ่งด้วย
  3. ยิ่งไม่รู้ ยิ่งต้องถาม – คนเราไม่ได้เก่งทุกอย่างฉันใด หัวหน้าหรือเจ้านายก็ไม่ได้รู้ทุกเรื่องฉันนั้น อย่าติดกับดักความคิดที่ว่าหัวหน้าต้องเก่งกว่าลูกน้อง เมื่อหัวหน้าถูกลูกน้องถามในเรื่องที่ไม่รู้ การพูดตรง ๆ ว่าไม่รู้ แม้ฟังดูง่าย แต่ก็ยากมหาศาล สิ่งที่ช่วยได้มากที่สุดก็คือความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความจริง ไม่ใช่สิ่งที่น่าอับอายเมื่อมีเรื่องที่เราไม่รู้ แต่เป็นทักษะที่ผู้นำทั้งหลายต้องฝึกฝนให้เป็นนิสัย เมื่อไม่รู้ให้ตอบตามตรง และขอความช่วยเหลือจากคนมีความรู้ความสามารถ อย่ามองว่าเป็นพฤติกรรมนี้เป็นเรื่องของคนอ่อนแอ กลับกันเป็นการแสดงออกถึงความเข้มแข็งอย่างที่สุด เพราะกล้าหาญที่จะยอมรับความจริงในเรื่องที่ไม่รู้หรือทำไม่ได้ หัวหน้าที่ทำเช่นนี้ได้ถือว่าน่าชื่นชมสุดๆ
  4. รู้กว้าง สร้างวิสัยทัศน์ – บางครั้งหัวหน้าอาจไม่มีความรู้และความชำนาญในงานระดับปฏิบัติการอย่างลึกซึ้งเท่าลูกน้อง เพราะไม่ได้อยู่หน้างานอย่างใกล้ชิดทุกวัน แต่หัวหน้าก็จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องอื่น ๆ ที่ลูกน้องไม่รู้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวิสัยทัศน์ยาวไกล การวางกลยุทธ์อย่างแยบคาย การตัดสินใจอย่างรอบคอบ การบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ อย่างราบรื่น หรือแม้แต่การแก้ปัญหาอย่างเฉียบคม ความรู้แบบกว้าง ๆ นี่แหละที่จะเป็นตัวช่วยเพิ่มมูลค่าของหัวหน้า และเรียกความศรัทธาจากลูกน้องได้เป็นอย่างดี
  5. ให้เครดิต เสริมสร้างกำลังใจ – ให้กำลังใจคนทำงานเก่ง ๆ ด้วยการถ่ายทอดเรื่องราวความสำเร็จในการทำงานของพวกเขาให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้บริหารคนอื่น ๆ ฟัง ชื่นชมคนเก่งว่าเป็นคนสำคัญของทีมและขององค์กรโดยรวม ไม่ว่าใครก็ต้องรู้สึกดีทั้งนั้น เมื่อหัวหน้าหรือเจ้านายมองเห็นคุณค่าในตัวเรา
  6. ดัน “ดารา” – เปิดโอกาสให้ลูกน้องเก่ง ๆ ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เมื่อเห็นโอกาสที่ดีและเหมาะสม ก็ไม่ควรเก็บเขาไว้ที่เดิมจนไม่ได้มีโอกาสเติบโต ส่งเสริมให้เขาได้มีโอกาสรับผิดชอบงานใหม่ ๆ ที่ท้าทาย และเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งได้เติบโตในสายงานขึ้นเป็นลำดับ
  7. กำจัดความกลัว สร้างความมั่นใจ – คนทั่ว ๆ ไปย่อมมีความกลัวในเรื่องต่าง ๆ เป็นธรรมดา ทั้งกลัวไม่เป็นที่รัก กลัวไม่ดีพอ กลัวไม่เข้าพวก ฯลฯ ความกลัวเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของความไม่มั่นใจและไม่เป็นตัวของตัวเอง วิธีการรับมือกับความกลัวไม่ใช่เรื่องยาก เพียงยอมรับความกลัวด้วยความมั่นใจ แล้วเดินหน้าต่อไป ให้เตือนตนเองเสมอว่าการจ้างและพัฒนาคนที่มีความสามารถเป็นสิ่งที่เจ้านายและหัวหน้าที่ดีควรทำ เพื่อผลดีของทีมและเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กร