หลังจากมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 24 ที่มีขึ้นในวันที่ 2-13 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมาซึ่งปีนี้ก็เป็นครั้งแรกที่จัดที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งใครที่ยังไม่มีแพลนว่าจะซื้อหนังสือเล่มไหน เรามีไอเดียสำหรับหนังสือน่าอ่านที่เหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือน ฟรีแลนซ์ หรือใครก็ได้ที่อยากพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น เพื่อปลุกไฟในการทำงาน เหมือนเติมเชื้อเพลิงชั้นดีให้การทำงานในวันใหม่ Read more
การสัมภาษณ์งานถือเป็นเวทีสำคัญที่จะตัดสินว่าคุณจะได้ทำงานต่อ หรือลากกระเป๋ากลับบ้านไปหางานใหม่ ดังนั้นหาก HR ติดต่อเรียกคุณเข้ามาสัมภาษณ์งาน นั่นแปลว่าคุณได้ผ่านการคัดเลือกจากข้อมูลที่คุณใส่ลงมาในใบสมัครงาน รวมถึงการเรียก ฟรีแลนซ์ และเรซูเม่ในระดับหนึ่งแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็อยู่ที่ตัวคุณ ว่าจะสามารถพรีเซนต์ตัวเองได้เตะตา HR และหัวหน้างานในอนาคตของคุณได้มากแค่ไหน ขอแนะนำขั้นตอนการพรีเซนต์ตัวเองแบบมืออาชีพ ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการทำงานให้กับคุณ
สัมภาษณ์งานยังไงให้ได้งาน ด้วยการนำเสนอตัวเองอย่างมือโปร
1. สร้างความประทับใจตั้งแต่แรกพบ
คำว่า “Love at first sight” ก็ยังใช้ได้ดีกับทุกโอกาส เมื่อถึงวันเวลาที่นัดสัมภาษณ์งาน สิ่งแรกที่ฝ่าย HR จะได้เห็นจากคุณคือการแต่งตัว รูปร่างหน้าตา ดังนั้นคุณควรแต่งตัวให้สุภาพตามความเหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่ที่คุณสมัครงานไว้ เมื่อถึงสถานที่นัดสัมภาษณ์งาน ส่งยิ้มทักทายให้กับพนักงานคนอื่น ๆ หากมีความจำเป็นต้องมาถึงบริษัทช้ากว่าเวลาที่กำหนดคุณควรโทรศัพท์แจ้งให้ฝ่าย HR ทราบก่อน เนื่องจากการสัมภาษณ์งานในบางตำแหน่ง คุณจะต้องพบกับผู้บริหารระดับสูงหลายท่านที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบมากมาย หากคุณจำเป็นต้องมาช้าจริง ๆ ผู้บริหารที่จะเข้าร่วมการสัมภาษณ์คุณจะได้มีเวลาทำงานอย่างอื่นก่อน
2. อ่อนน้อมถ่อมตน
การไหว้ ถือเป็นการแสดงความเคารพที่ดีที่สุด อีกทั้งยังทำให้คุณดูเป็นคนอ่อนถ่อมตนด้วย ดังนั้นเมื่อเดินทางมาถึงสถานที่สัมภาษณ์งาน คุณควรยกมือไหว้คนที่คุณติดต่อนัดสัมภาษณ์งานไว้ แม้บุคคลนั้นอาจเป็นชาวต่างชาติก็ตาม และเมื่อถึงเวลาเข้าห้องสัมภาษณ์คุณควรนั่งให้เรียบร้อยหลังตรง วางกระเป๋าถือไว้ข้างตัวให้เป็นระเบียบ ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง หรือเอนพนักพิง หยุดเล่นโทรศัพท์มือถือขณะอยู่ในช่วงเวลาสัมภาษณ์งานแม้จะเป็นช่วงที่ HR ปล่อยให้คุณทำแบบทดสอบต่าง ๆ ตามลำพังก็ตาม หลังจบการสัมภาษณ์งานควรยกมือไหว้ ทำความเคารพผู้บริหารทุกท่าน รวมถึงกล่าวขอบคุณที่สละเวลามาสัมภาษณ์งานกับคุณ
3. ตัดความกลัว ใส่ความมั่นใจ
ความมั่นใจจะช่วยให้คุณผ่านด่านการสัมภาษณ์งานไปได้ด้วยดี ดังนั้นเมื่อต้องเจอกับคำถามแรกที่ให้แนะนำตัว หรือเล่าประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาให้กับผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์ฟัง แม้คุณจะต้องเจอผู้บริหารระดับสูงมากมายแค่ไหน คุณต้องตัดความกลัวนั้นทิ้งไป แล้วเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง พรีเซนต์ตัวเองด้วยเสียงที่ดัง ฟังชัด ไม่กระอึกกระอัก พยายามส่งสายตาและรอยยิ้ม (Eye Contact) ให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์ทุกท่าน เพื่อแสดงความจริงใจที่คุณอยากเข้ามาร่วมงานในองค์กรของพวกเขา
สำหรับนักศึกษาจบใหม่ ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำ “อะไรก็ได้ แล้วแต่ หนูไม่รู้” ซึ่งจะแสดงให้ HR เห็นว่าคุณขาดความมั่นใจ และไม่พร้อมที่จะสัมภาษณ์งาน หรือแม้กระทั่งไม่พร้อมที่จะทำงาน
4. สื่อสารด้วยคำพูดที่เข้าใจง่าย
หากมีความจำเป็นต้องใช้คำศัพท์เทคนิค หรือคำทับศัพท์ต่าง ๆ ควรเลือกใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ไม่เทคนิคเกินไป เพราะอาจทำให้ผู้ที่สัมภาษณ์คุณเกิดความสับสน และไม่เข้าใจความหมายที่คุณต้องการสื่อสาร
5. หลีกเลี่ยงการพูดโกหก
ผู้ถูกสัมภาษณ์ส่วนใหญ่มักจะเจอคำถามที่ว่า “ทำไมถึงลาออกจากงานที่เก่า” “ข้อเสียในตัวคุณคืออะไร” “คุณเคยทำงานพลาดหรือไม่” แม้จะเป็นคำถามที่ยากจะตอบ แต่เราแนะนำให้คุณพูดความจริงด้วยความมั่นใจ แต่ต้องไม่มีผลกระทบในทางร้ายกับตัวคุณเอง คุณควรเล่าความจริง พร้อมวิธีปรับปรุงแก้ไข ซึ่งนั่นจะแสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่คุณมี และเทคนิคในการรับมือ-แก้ไขปัญหาของคุณ
6. เอกสารประกอบควรมี
“10 ปากว่าไม่เท่าตาเห็น” แม้ในเรซูเม่ของคุณจะใส่ผลงานและประสบการณ์การทำงานมามากแค่ไหน แต่คุณก็ควรมีเอกสารประกอบ หรือผลงานที่คุณเคยทำมามาแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็น เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หากเป็นไปได้อาจเล่าถึงที่มาที่ไป และไอเดียที่ทำให้เกิดผลงานขึ้นนั้นด้วย ซึ่งอาจมาในรูปแบบของพรีเซนเตชั่น หรือชิ้นงานที่จับต้องได้
7. แสดงให้ HR เห็นว่าคุณอยากทำงานจริง
สิ่งหนึ่งที่ HR ให้ความสนใจเมื่อเรียกคุณมาสัมภาษณ์งานคือคุณมีความสนใจตำแหน่งงานที่จะทำงานมากแค่ไหน ดังนั้นคุณควรทำการบ้านให้พร้อม ตั้งแต่การศึกษาข้อมูลองค์กรที่คุณจะเข้าทำงาน รวมถึงรายละเอียดในตำแหน่งที่คุณจะเข้ามาทำงาน คุณต้องแสดงให้ผูู้เข้าร่วมสัมภาษณ์เห็นว่าเหตุผลที่คุณอยากทำงานในตำแหน่งนี้ องค์กรนี้คืออะไร คุณสมบัติที่คุณมีจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างไร ทั้งหมดนี้จะทำให้ HR เห็นว่าคุณมีความกระตือรือร้นที่อยากจะทำงานมากน้อยเพียงใด
สงสัยกันอยู่ใช่มั้ย ว่าทำไมคุณถึงถูกปฏิเสธไม่ได้รับเข้าทำงาน? คุณอยากให้บริษัทนั้นบอกเหตุผลคุณตามตรง ว่าทำไมถึงตัดสินใจเลือกคนอื่นที่ไม่ใช่คุณหรือเปล่า? เพราะการสมัครงานทั้งที ไม่เคยเป็นที่ถูกเลือก สักทีมันก็จะเฟลค่อนข้างมากอยู่นะ หรือรับงาน ฟรีแลนซ์ เองก็ตามการรับฟังความจริงที่โหดร้ายบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ยาก แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่าจุดอ่อนของคุณคืออะไร การสัมภาษณ์งานครั้งต่อไปก็อาจจะเป็นเหมือนเดิม ไม่ดีขึ้นก็ได้
สมัครงานทั้งที ไม่เคยเป็นที่ถูกเลือก จะทำยังไงถึงจะได้ถูกเลือก
การที่จะวิพากษ์วิจารณ์ใครอย่างตรงไปตรงมา มันไม่ใช่งานที่ HR อยากทำเท่าไหร่ และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ HR ส่วนใหญ่พยายามหลีกเลี่ยงที่จะบอกข้อบกพร่อง หรือแม้กระทั่งแจ้งข่าวร้ายที่ว่าคุณไม่ได้รับการจ้างงาน ฉะนั้นเพื่อช่วยคุณในการเตรียมความพร้อมและป้องกันความผิดพลาดอันอาจจะเกิดขึ้นระหว่างการสัมภาษณ์งาน ได้รวบรวมเหตุผลว่า ทำไมคุณไม่เป็นคนที่ถูกเลือกเข้าทำงานซักที
1. คุณยังไม่ใช่คนที่ “ใช่” สำหรับงานนี้
มันอาจเป็นเรื่องง่ายที่จะนำเสนอว่าคุณเหมาะกับตำแหน่งนี้ผ่านทางตัวหนังสือบนเรซูเม่ (ซึ่งเป็นเหตุผลว่าเรซูเม่ที่ดีจะเป็นใบเบิกทางที่ดีให้กับคุณ) แต่สิ่งสำคัญยิ่งไปกว่าการมีเรซูเม่ที่ดีคือการที่คุณนำเสนอตัวตน ไอเดีย และมุมมองของคุณผ่านการสัมภาษณ์งานว่ามันเข้ากันได้กับสิ่งที่องค์กรต้องการหรือไม่
เพื่อป้องกันการถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่าคุณไม่เหมาะกับงานนี้ คุณควรเริ่มจากการหางานที่เหมาะกับคุณมากที่สุด เลือกบริษัทที่คุณคิดว่าใช่ นั่นคือ คุณควรทำความเข้าใจกับประกาศงานก่อนที่คุณจะสมัคร เพื่อให้คุณได้งานที่ต้องการมากที่สุด
2. คุณกับผู้สัมภาษณ์งานมีเคมีไม่ตรงกัน
ธรรมชาติของคนเรา คือมักชอบคนที่มีเคมีตรงกัน และอยากสนับสนุนคนนั้นมากกว่าคนที่รู้สึกไม่ถูกชะตา คนส่วนใหญ่มักจะชอบคนที่เข้ากับเราได้ การสัมภาษณ์งานก็เช่นกัน ทำอย่างไรคุณถึงจะมีโอกาสทำคะแนนเพื่อสร้างมิตรภาพกับผู้สัมภาษณ์งาน? แน่นอนว่าคุณต้องทำการบ้านเพิ่มเติมค่ะ
ในการเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์งาน การทำการบ้าน หรือหาข้อมูลไม่ควรหยุดอยู่แค่หาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทและตำแหน่งงานเท่านั้น ถ้าเป็นไปได้ คุณควรหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคนที่จะสัมภาษณ์งานคุณด้วย พยายามสืบให้ได้ว่าใครจะเป็นผู้สัมภาษณ์งาน คุณอาจหาข้อมูลเกี่ยวกับเขาคนนั้นจากทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือสอบถามจากเพื่อนหรือคนรู้จักในแวดวงของคุณเกี่ยวกับเขาคนนั้น หากคุณเตรียมตัวมาดี โอกาสในการผ่านรอบสัมภาษณ์งานก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
3. คุณไม่ได้รับเลือกเพราะแพ้ให้กับเส้นสาย
องค์กรโดยมากมีกระบวนการคัดเลือกคนเข้าทำงานโดยใช้วิธีการบอกต่อหรือแนะนำกันมาผ่านทางพนักงานปัจจุบันที่ทำงานอยู่ เพราะ “เพื่อนของเพื่อน” มักจะเป็นที่น่าไว้ใจและให้ความรู้สึกวางใจที่จะรับเข้าทำงานมากกว่าคนแปลกหน้าที่ต้องเริ่มทำความรู้จักใหม่ตั้งแต่ต้น คุณสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการหมั่นสร้างไมตรี และสานต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและเพื่อนของคุณอย่างสม่ำเสมอ โลกแคบไปทันตาถ้าคุณมีเพื่อนหรือญาติที่ทำงานอยู่ที่องค์กรที่คุณอยากทำงานด้วยและเขาเหล่านั้นสามารถช่วยคุณได้
4. คุณดูเหมือนว่าจะอยู่ที่ไหนไม่ได้นาน
แม้ว่าการเปลี่ยนงานบ่อยจะถือเป็นเรื่องธรรมดาสามัญในวัฒนธรรมการทำงานของคนในยุคนี้ แต่ข้อเสียของมันก็คือ การมีประวัติการทำงานที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบนเรซูเม่อาจทำให้คุณถูกมองว่าเป็นคนเหลาะแหละ จับจด ไม่มั่นคง และอยู่ที่ไหนไม่ได้นาน และอาจทำให้คุณเสียโอกาสในการได้งานที่คุณต้องการก็เป็นได้ ฉะนั้นคุณควรใช้ช่วงเวลาในการสัมภาษณ์งานให้เป็นประโยชน์โดยการอธิบายเหตุผลที่ทำให้คุณมีเรซูเม่เช่นนั้น
5. คุณดูพยายามมากเกินไป
การโปรโมทตนเองในการสัมภาษณ์งานถือเป็นศิลปะอันละเอียดอ่อน คุณต้องแสดงออกอย่างมั่นใจ ใช้กลเม็ดและปฏิภาณไหวพริบต่าง ๆ ในการพรีเซนท์ตัวเองให้ดูพอดี ๆ ไม่มากจนดูเป็นคนขี้อวดขี้โม้ หรือหลงตัวเองจนเกินไป คุณควรสร้างความสมดุลระหว่างการโฆษณาความสำเร็จของคุณกับความอ่อนน้อมถ่อมตนและให้เครดิตกับคนรอบข้างที่มีส่วนช่วยให้คุณประสบความสำเร็จด้วย
6. คุณทำผิดพลาดมากเกินไประหว่างการสัมภาษณ์งาน
ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดพลาดที่เกิดจากความประหม่าในขณะสัมภาษณ์งานนั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ยอมรับกันได้ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่ใช่ตัวบ่งบอกว่าเราเป็นคนอย่างไรแต่การที่เราแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นอย่างไรต่างหากที่จะบ่งบอกถึงอุปนิสัยของเรา การแก้ไขข้อผิดพลาดที่ชาญฉลาดจะเป็นตัวบอกว่าคุณมีปฏิภาณไหวพริบและมีคอมมอนเซนส์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญในการทำงานภายใต้ความกดดันต่าง ๆ เช่น การเผชิญหน้ากับลูกค้าที่กำลังวีนเหวี่ยง เป็นต้น การฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเล็ก ๆ น้อย ๆ บ่อย ๆ จะช่วยให้คุณผ่านพ้นสถานการณ์อันน่าอึดอัดหากมันเกิดขึ้นกับคุณระหว่างการสัมภาษณ์งานครั้งต่อไป
7. คุณปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ได้
เหตุผลข้อนี้เกี่ยวข้องโดยตรงหากคุณต้องไปเป็น expat หรือต้องไปทำงานต่างประเทศที่คุณไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศนั้น ๆ ถ้าคุณไม่เคยไปประเทศนั้นเลย คุณควรศึกษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างละเอียดก่อนการเข้าสัมภาษณ์งานเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
แน่นอนว่าไม่มีองค์กรไหนหรือบริษัทใดที่จะมีแต่พนักงานคนเดิม ชุดเดิมอยู่ทำงานตั้งแต่ก่อตั้งจวบจนถึงปัจจุบันอย่างแน่นอน ตามวงจรชีวิตการทำงานก็จะมีทั้งพนักงานคนเก่าและพนักงานคนใหม่หรือแม้แต่ ฟรีแลนซ์ ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ขึ้นอยู่ที่ว่าบริษัทนั้น ๆ ตอบโจทย์ของพนักงานได้มากน้อยแค่ไหน เพราะพนักงานแต่ละคนก็มีเงื่อนไขในการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน และแน่นอนว่าเมื่อมีพนักงานเก่าก็ต้องมีพนักงานใหม่ บางองค์กรอาจจะไม่มีปัญหา แต่ในหลาย ๆ องค์กรกลับเกิดปัญหาระหว่างพนักงานเก่ากับพนักงานใหม่อย่างไม่น่าเชื่อ
ความสำคัญระหว่าง พนักงานเก่ากับพนักงานใหม่ แบบไหนดีกว่ากัน
ข้อดีของพนักงานใหม่
ช่วยแบ่งเบางาน เพราะเหตุผลหลักที่หลาย ๆ บริษัทเปิดรับพนักงานใหม่ก็เพื่อมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำงานภายในออฟฟิศนั่นเอง
ว่านอนสอนง่าย เพราะเป็นพนักงานใหม่ ยังไม่รู้จักใคร ย่อมไม่มีปากมีเสียง หรือไม่เป็นตัวตั้งตัวดีในการก่อปัญหากับคนอื่น ๆ แน่นอน
มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะด้วยความที่เป็นน้องใหม่ ไม่ว่าจะเป็นน้องใหม่วัยเพิ่งเรียนจบ หรือจะเป็นใหม่ที่นี่แต่เก่ามาจากที่อื่นก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีความคิดใหม่ ๆ ติดตัวมาเสมอ ส่วนหนึ่งด้วยความที่มาจากอีกองค์กรหนึ่ง มาจากอีกมุมองหนึ่งเลยเสมือนเป็นตัวกระตุ้นความสร้างสรรค์ให้ทีมได้
กระตือรือร้น ด้วยความที่เป็นน้องใหม่ ย่อมมีไฟในการทำงานมากเป็นธรรมดา ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจหากน้องใหม่ในทีมจะสามารถทำงานได้เป็นตั้ง ๆ หรือสั่งอะไรก็สามารถทำให้ได้ทันที
เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ง่าย เพราะด้วยความสด ความใหม่นั่นเองที่ทำให้พนักงานใหม่เปรียบเสมือนน้ำที่ยังไม่เต็มแก้ว พร้อมที่จะรับรู้สิ่งใหม่ ๆ เสมอ ๆ และที่สำคัญส่วนใหญ่มักจะเรียนรู้ได้เร็วเสียด้วย
ข้อเสียของพนักงานใหม่
ประสบการณ์น้อย หรือไม่มีประสบการณ์เลย ซึ่งเป็นข้อเสียที่มักจะพบได้บ่อย ๆ
เสียเวลาในการเทรน สำหรับน้อง ๆที่เพิ่งเรียนจบถือว่าต้องสอนกันยาวไหนจะการปรับตัวให้เข้ากับโลกใหม่ ไหนจะต้องปรับตัวให้เข้ากับบริษัท ไหนจะต้องเรียนรู้งานอีกกว่าจะสามารถทำงานได้เต็มที่จริง ๆ ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร หรือแม้แต่คนที่มีประสบการณ์มาแล้วก็ตาม อย่างไรก็ต้องเสียเวลาในการปรับตัวกับองค์กรใหม่ เรียนรู้งานใหม่ เพราะบริษัทแต่ละแห่งแม้จะเป็นงานในขอบเขตที่เหมือนกัน แต่วิธีการทำงานอาจจะไม่เหมือนกัน
ค่าใช้จ่ายสูง ปัจจุบันมีการกำหนดฐานเงินเดือนขั้นต่ำไว้อยู่แล้ว ไหนจะค่าเทรนกว่าจะทำงานได้ดีอีก บริษัทก็ถือว่ามีค่าใช้จ่ายตรงนี้ด้วย
ไม่แน่นอน บางครั้งฝ่ายบุคคลต้องประสบปัญหาพนักงานไม่มาทำงานโดยไม่แจ้งล่วงหน้า หรือตอบตกลงมาทำงานแล้วแต่ถึงเวลากลับไม่มาทำงาน หรือแม้แต่พนักงานใหม่ที่ทำงานอยู่บางคนก็อาจจะอยู่ไม่ทน พอถึงระยะหนึ่งก็ลาออก ทำให้ต้องประกาศรับคนใหม่อีกแล้ว
ข้อดีของพนักงานเก่า
ทำให้งานราบรื่น ด้วยความที่ทำงานมานาน มีประสบการณ์ ฉะนั้นจึงไม่ทำให้บริษัทต้องสะดุดหรือชะงักแน่นอน
รู้งาน เพราะทำงานมานานสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดีเพราะมีประสบการณ์ในการทำงานแล้ว ย่อมมีทักษะในการแก้ไขปัญหาได้
รู้จักบริษัท รู้ประวัติความเป็นมาของบริษัท รู้ที่มาที่ไปและวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไร จึงสามารถปรับตัวให้อยู่ได้อย่างไม่อึดอัด
มั่นคง ส่วนใหญ่พนักงานเก่ามักจะมีอายุงานนาน มักจะไม่เปลี่ยนงานบ่อย ๆ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเทรนด์งาน สามารถสั่งงานได้เลย
ข้อเสียของพนักงานเก่า
เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ช้า ทำให้บางครั้งตัวบริษัทไม่สามารถปรับเปลี่ยนตามกระแสโลกภายนอกได้ทัน ก็กลายเป็นองค์กรล้าสมัยไป
มีความคิดเป็นของตัวเอง ด้วยความที่ทำงานมานาน มีประสบการณ์การทำงานเยอะกว่าทำให้พนักงานเก่ายึดความคิดของตัวเองเป็นหลัก จนปิดกั้นแนวทางการทำงานใหม่ ๆ
ความคิดไม่ค่อยสร้างสรรค์ ส่วนหนึ่งด้วยความที่ต้องทำงานเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทำให้ไม่ค่อยได้พัฒนาความคิด หรือความสร้างสรรค์ใหม่ ๆ งานที่ออกมาจึงเป็นงานเดิม ๆ
หมดไฟ พนักงานเก่าหลาย ๆ คนเริ่มมีครอบครัว มีหน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีเวลาทุ่มเทให้กับงานน้อยลง บางคนทำงานหนักที่ออฟฟิศ กลับบ้านก็ต้องมาทำงานบ้าน ดูแลบ้าน ดูแลครอบครัว พอหัวตกถึงหมอนก็หลับเป็นตาย เช้าตื่นมาก็ไปทำงาน แล้วก็วนลูปอยู่อย่างนี้ทำให้ค่อย ๆ หมดไฟกับการทำงานไปในที่สุด