สัมภาษณ์งานยังไงให้ได้งาน ด้วยการนำเสนอตัวเองอย่างมือโปร

การสัมภาษณ์งานถือเป็นเวทีสำคัญที่จะตัดสินว่าคุณจะได้ทำงานต่อ หรือลากกระเป๋ากลับบ้านไปหางานใหม่ ดังนั้นหาก HR ติดต่อเรียกคุณเข้ามาสัมภาษณ์งาน นั่นแปลว่าคุณได้ผ่านการคัดเลือกจากข้อมูลที่คุณใส่ลงมาในใบสมัครงาน รวมถึงการเรียก ฟรีแลนซ์ และเรซูเม่ในระดับหนึ่งแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็อยู่ที่ตัวคุณ ว่าจะสามารถพรีเซนต์ตัวเองได้เตะตา HR และหัวหน้างานในอนาคตของคุณได้มากแค่ไหน ขอแนะนำขั้นตอนการพรีเซนต์ตัวเองแบบมืออาชีพ ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการทำงานให้กับคุณ

 

สัมภาษณ์งานยังไงให้ได้งาน ด้วยการนำเสนอตัวเองอย่างมือโปร

1. สร้างความประทับใจตั้งแต่แรกพบ

คำว่า “Love at first sight” ก็ยังใช้ได้ดีกับทุกโอกาส เมื่อถึงวันเวลาที่นัดสัมภาษณ์งาน สิ่งแรกที่ฝ่าย HR จะได้เห็นจากคุณคือการแต่งตัว รูปร่างหน้าตา ดังนั้นคุณควรแต่งตัวให้สุภาพตามความเหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่ที่คุณสมัครงานไว้ เมื่อถึงสถานที่นัดสัมภาษณ์งาน ส่งยิ้มทักทายให้กับพนักงานคนอื่น ๆ หากมีความจำเป็นต้องมาถึงบริษัทช้ากว่าเวลาที่กำหนดคุณควรโทรศัพท์แจ้งให้ฝ่าย HR ทราบก่อน เนื่องจากการสัมภาษณ์งานในบางตำแหน่ง คุณจะต้องพบกับผู้บริหารระดับสูงหลายท่านที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบมากมาย หากคุณจำเป็นต้องมาช้าจริง ๆ ผู้บริหารที่จะเข้าร่วมการสัมภาษณ์คุณจะได้มีเวลาทำงานอย่างอื่นก่อน

2. อ่อนน้อมถ่อมตน

การไหว้ ถือเป็นการแสดงความเคารพที่ดีที่สุด อีกทั้งยังทำให้คุณดูเป็นคนอ่อนถ่อมตนด้วย ดังนั้นเมื่อเดินทางมาถึงสถานที่สัมภาษณ์งาน คุณควรยกมือไหว้คนที่คุณติดต่อนัดสัมภาษณ์งานไว้ แม้บุคคลนั้นอาจเป็นชาวต่างชาติก็ตาม และเมื่อถึงเวลาเข้าห้องสัมภาษณ์คุณควรนั่งให้เรียบร้อยหลังตรง วางกระเป๋าถือไว้ข้างตัวให้เป็นระเบียบ ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง หรือเอนพนักพิง หยุดเล่นโทรศัพท์มือถือขณะอยู่ในช่วงเวลาสัมภาษณ์งานแม้จะเป็นช่วงที่ HR ปล่อยให้คุณทำแบบทดสอบต่าง ๆ ตามลำพังก็ตาม หลังจบการสัมภาษณ์งานควรยกมือไหว้ ทำความเคารพผู้บริหารทุกท่าน รวมถึงกล่าวขอบคุณที่สละเวลามาสัมภาษณ์งานกับคุณ

3. ตัดความกลัว ใส่ความมั่นใจ

ความมั่นใจจะช่วยให้คุณผ่านด่านการสัมภาษณ์งานไปได้ด้วยดี ดังนั้นเมื่อต้องเจอกับคำถามแรกที่ให้แนะนำตัว หรือเล่าประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาให้กับผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์ฟัง แม้คุณจะต้องเจอผู้บริหารระดับสูงมากมายแค่ไหน คุณต้องตัดความกลัวนั้นทิ้งไป แล้วเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง พรีเซนต์ตัวเองด้วยเสียงที่ดัง ฟังชัด ไม่กระอึกกระอัก พยายามส่งสายตาและรอยยิ้ม (Eye Contact) ให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์ทุกท่าน เพื่อแสดงความจริงใจที่คุณอยากเข้ามาร่วมงานในองค์กรของพวกเขา

สำหรับนักศึกษาจบใหม่ ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำ “อะไรก็ได้ แล้วแต่ หนูไม่รู้” ซึ่งจะแสดงให้ HR เห็นว่าคุณขาดความมั่นใจ และไม่พร้อมที่จะสัมภาษณ์งาน หรือแม้กระทั่งไม่พร้อมที่จะทำงาน

4. สื่อสารด้วยคำพูดที่เข้าใจง่าย

หากมีความจำเป็นต้องใช้คำศัพท์เทคนิค หรือคำทับศัพท์ต่าง ๆ ควรเลือกใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ไม่เทคนิคเกินไป เพราะอาจทำให้ผู้ที่สัมภาษณ์คุณเกิดความสับสน และไม่เข้าใจความหมายที่คุณต้องการสื่อสาร

5. หลีกเลี่ยงการพูดโกหก

ผู้ถูกสัมภาษณ์ส่วนใหญ่มักจะเจอคำถามที่ว่า “ทำไมถึงลาออกจากงานที่เก่า” “ข้อเสียในตัวคุณคืออะไร” “คุณเคยทำงานพลาดหรือไม่” แม้จะเป็นคำถามที่ยากจะตอบ แต่เราแนะนำให้คุณพูดความจริงด้วยความมั่นใจ แต่ต้องไม่มีผลกระทบในทางร้ายกับตัวคุณเอง คุณควรเล่าความจริง พร้อมวิธีปรับปรุงแก้ไข ซึ่งนั่นจะแสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่คุณมี และเทคนิคในการรับมือ-แก้ไขปัญหาของคุณ

6. เอกสารประกอบควรมี

“10 ปากว่าไม่เท่าตาเห็น” แม้ในเรซูเม่ของคุณจะใส่ผลงานและประสบการณ์การทำงานมามากแค่ไหน แต่คุณก็ควรมีเอกสารประกอบ หรือผลงานที่คุณเคยทำมามาแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็น เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หากเป็นไปได้อาจเล่าถึงที่มาที่ไป และไอเดียที่ทำให้เกิดผลงานขึ้นนั้นด้วย ซึ่งอาจมาในรูปแบบของพรีเซนเตชั่น หรือชิ้นงานที่จับต้องได้

7. แสดงให้ HR เห็นว่าคุณอยากทำงานจริง

สิ่งหนึ่งที่ HR ให้ความสนใจเมื่อเรียกคุณมาสัมภาษณ์งานคือคุณมีความสนใจตำแหน่งงานที่จะทำงานมากแค่ไหน ดังนั้นคุณควรทำการบ้านให้พร้อม ตั้งแต่การศึกษาข้อมูลองค์กรที่คุณจะเข้าทำงาน รวมถึงรายละเอียดในตำแหน่งที่คุณจะเข้ามาทำงาน คุณต้องแสดงให้ผูู้เข้าร่วมสัมภาษณ์เห็นว่าเหตุผลที่คุณอยากทำงานในตำแหน่งนี้ องค์กรนี้คืออะไร คุณสมบัติที่คุณมีจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างไร ทั้งหมดนี้จะทำให้ HR เห็นว่าคุณมีความกระตือรือร้นที่อยากจะทำงานมากน้อยเพียงใด

ทักษะการวางตัว เพื่อให้เจ้านายมองเห็นถึงความพยายามของคุณ

การวางตัวในที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญ หากอยากประสบความสำเร็จ ต้องฉลาดคิด ฉลาดพูด เรื่องบางเรื่อง การกระทำบางอย่างไม่ควรแสดงออกต่อหน้าเจ้านาย ถึงแม้จะรับจ้าแบบ ฟรีแลนซ์ คุณอาจไม่คิดอะไร แต่เรื่อง ทักษะการวางตัว แบบนี้เจ้านายให้ความสำคัญ ดังนั้นต้องคิดทุกครั้งก่อนที่จะพูดอะไรออกไปการวางตัวในที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญ หากอยากประสบความสำเร็จ ต้องฉลาดคิด ฉลาดพูด เรื่องบางเรื่อง การกระทำบางอย่างไม่ควรแสดงออกต่อหน้าเจ้านาย ถึงแม้ว่าคุณอาจไม่คิดอะไร แต่เรื่องแบบนี้ เจ้านายให้ความสำคัญ ดังนั้นต้องคิดทุกครั้งก่อนที่จะพูดอะไรออกไป

ทักษะการวางตัว เพื่อให้เจ้านายมองเห็นถึงความพยายามของคุณ

ทักษะการวางตัว เพื่อให้เจ้านายมองเห็นถึงความพยายามของคุณ

1. ผม/ ฉันทำงานนี้เพราะเงิน แม้ว่าเจ้านายอาจรู้ว่า เงินคือแรงจูงใจของคุณ และคุณก็คิดว่าเจ้านายรู้แล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ควรพูดออกไป
2. ผม/ ฉันจะลาออก เมื่อผม/ ฉัน… คุณไม่ควรให้เจ้านายล่วงรู้ถึงแผนการในอนาคตของคุณ เช่น คุณกำลังเก็บเงินเพื่อไปประกอบกิจการส่วนตัวในอนาคต หรือคุณกำลังจะเรียนต่อ หากปล่อยให้เจ้านายรู้ เจ้านายอาจรีบหาพนักงานคนใหม่มาแทนคุณ และทำให้คุณต้องออกจากงานก่อนเวลาอันควรก็ได้
3. ไม่ใช่ความผิดของผม/ ฉัน การปัดความรับผิดชอบ ไม่ใช่วิสัยของมืออาชีพ หากคุณไม่อยากถูกมองว่าทำตัวเป็นเด็ก ๆ ควรกล้าที่จะเผชิญหน้า กับความจริงเมื่อคุณทำผิดพลาด และหาทางแก้ไขปัญหาให้คลี่คลาย จะดีกว่าการพูดว่า “ไม่ใช่ความผิดของผม/ ฉัน”
4. งานนี้ง่ายเกินไป คุณอาจคิดว่างานง่าย ๆ อย่างนี้ไม่ต้องให้คุณทำก็ได้ คิดได้แต่ไม่ควรให้เจ้านายรู้ เพราะเจ้านายอาจคิดว่า เขาไม่จำเป็นต้องจ้างคุณในเงินเดือนแพง ๆ เพื่อมาทำงานง่าย ๆ อย่างนี้ก็ได้ เขาอาจจ้างคนที่เก่งน้อยกว่า เงินเดือนน้อยกว่ามาทำงานแทนคุณ แล้วสุดท้ายคนที่จะลำบากก็คือตัวคุณเอง
5. ผม/ ฉันทำไม่ได้ เพราะผม/ ฉันมีงานอื่น ในสายตาของเจ้านาย คุณไม่ควรเอางานเสริมของคุณมาเป็นข้ออ้างในการที่ไม่สามารถกลับบ้านดึก ไม่สามารถทำงานล่วงเวลา หรือไม่สามารถทำงานให้เสร็จตรงเวลาได้ เขาอาจถามคุณว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทำก่อน-หลัง ซึ่งคุณควรรู้คำตอบดีอยู่แล้ว
6. แสดงออกทางสีหน้า ดวงตา และน้ำเสียง การกระทำสำคัญกว่าคำพูดเสมอ คุณจึงไม่ควรแสดงออกด้วยการถอนหายใจ กรอกตาหรือขึ้นเสียงกับเจ้านาย เมื่อคุณรู้สึกไม่พอใจ การเงียบและวางเฉยเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
7. ทำเองสิ คนที่กล่าวคำพูดนี้ออกมา จะดูเป็นคนที่ไม่มีน้ำใจ และเห็นแก่ตัวขึ้นมาทันที ดังนั้นจงอย่าพูดคำนี้ออกมาเด็ดขาด หากคุณไม่สามารถช่วยเหลือเขาได้ ให้หาทางเลี่ยง และเลือกใช้คำพูดที่ไม่ทำร้ายจิตใจผู้อื่นจะดีกว่า
8. ผม/ ฉันจะหลับแล้ว แม้ว่าคุณจะง่วงมากในขณะทำงาน จนแทบจะลืมตาไม่ขึ้น แต่คุณควรจะแสร้งทำเป็นว่าคุณยังคงตั้งใจทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรจะยอมรับและพูดออกมาว่า คุณกำลังจะหลับจริง ๆ
9. ให้ผม/ ฉันหาแฟนให้ไหม ไม่ควรหาคู่ให้เจ้านาย แม้ว่าเจ้านายคุณยังโสดอยู่ก็ตาม นั่นหมายรวมถึง ไม่ควรให้ความสนิทสนมกับเจ้านายมากเกินไป ควรจำกัดขอบเขตความสนิทสนมไว้ด้วย เช่น ไม่ควร add เจ้านายเป็นเพื่อนใน facebook ของคุณ หากคุณไม่ต้องการให้เจ้านายรู้เรื่องของคุณมากเกินไป

รับมือกับลูกน้องเก่งๆ ไม่ใช่เรื่องยากแค่ทำตามเทคนิคที่แนะนำ

ในโลกการทำงานจริงนั้น บ่อยครั้งที่เจ้านายหรือหัวหน้าอาจไม่ได้เฉียบแหลมกว่าลูกน้องเสมอไป การ รับมือกับลูกน้องเก่งๆ ไม่ใช่เรื่องยากแค่ทำตามเทคนิคที่แนะนำ คล้ายคลึงกับเรื่องราวของเล่าปี่กับขงเบ้ง หรือแม้แต่แม่ทัพที่เกรียงไกรย่อมต้องมีทหารเอกเก่ง ๆ คู่ใจ ยามรบกับใครก็มักได้รับชัยชนะอยู่เสมอ เปรียบเหมือนการมีคนเก่ง ๆ หรือลูกน้องฝีมือดีอยู่ในองค์กร พวกเขาเหล่านี้นี่แหละที่จะมีบทบาทสำคัญ ช่วยส่งเสริมการทำงานให้เราประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ก้าวสู่เส้นชัยได้ตามความมุ่งหวังตั้งใจ

รับมือกับลูกน้องเก่งๆ ไม่ใช่เรื่องยากแค่ทำตามเทคนิคที่แนะนำ

รับมือกับลูกน้องเก่งๆ ไม่ใช่เรื่องยากแค่ทำตามเทคนิคที่แนะนำ

แทนที่เจ้านายหรือหัวหน้าจะรู้สึกนอยด์หรือกลัวเสียหน้าเมื่อมีลูกน้องที่ทำงานเก่งกว่า ให้ลองเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ พลิกสถานการณ์ให้เป็นความท้าทาย แม้ความเชื่อเดิม ๆ หรือภาพจำส่วนใหญ่ อาจทำให้เรารู้สึกว่าคนเก่งโดยมากมักมีความมั่นใจและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ทำให้ควบคุมบริหารจัดการได้ยาก สำหรับเรื่องนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวลจนเกินไปนัก เพราะบรรดาผู้นำที่ประสบความสำเร็จทั้งหลายล้วนมีกุศโลบายรับมือจัดการกับลูกน้องเก่ง ๆ ได้ พอจะหยิบยกมาเป็นแนวทางให้สามารถนำไปปรับใช้กันได้ตามความเหมาะสม

  1. ใช้คนเก่งให้เป็นประโยชน์ – เมื่อมีคนเก่งอยู่ในทีม จงใช้ข้อได้เปรียบนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด พยายามดึงความสามารถต่าง ๆ ของพวกเขาออกมาใช้ ค้นหาว่าพวกเขามีจุดเด่นในเรื่องใด อะไรเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องเรียนรู้เพิ่มเติม แล้วท้าทายพวกเขาด้วยการมอบหมายงานที่จะสามารถนำคนเก่งเหล่านี้ไปสู่ความก้าวหน้าในอนาคตได้
  2. เรียนรู้จากคนเก่ง -เปลี่ยนการแย่งซีน การแข่งขันชิงดีชิงเด่น ให้เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน หัวใจสำคัญของการบริหารคือการจัดการคนและกำหนดทิศทางในการทำงานให้ทีม ไม่ใช่การแข่งขันประลองความรู้กับลูกน้อง คนเป็นหัวหน้ามีหน้าที่ต้องเอาชนะใจไม่ใช่เอาชนะงาน ดังนั้น ถ้าลูกน้องเก่งกว่าก็เรียนรู้จากเขา ถามคำถาม และบางครั้งอาจลงมือทำเองบ้าง เพื่อจะได้มีโอกาสสัมผัสกับหน้างานจริง ๆ อย่ามองว่าเป็นเรื่องเสียฟอร์ม เสียการปกครอง ไม่แน่ว่าการใส่ใจถามไถ่เรื่องงานของหัวหน้า ถ้ามาถูกทาง อาจเกิดผลพลอยได้ในเรื่องการสร้างความยอมรับ และเป็นการกระชับความสัมพันธ์กันอีกทางหนึ่งด้วย
  3. ยิ่งไม่รู้ ยิ่งต้องถาม – คนเราไม่ได้เก่งทุกอย่างฉันใด หัวหน้าหรือเจ้านายก็ไม่ได้รู้ทุกเรื่องฉันนั้น อย่าติดกับดักความคิดที่ว่าหัวหน้าต้องเก่งกว่าลูกน้อง เมื่อหัวหน้าถูกลูกน้องถามในเรื่องที่ไม่รู้ การพูดตรง ๆ ว่าไม่รู้ แม้ฟังดูง่าย แต่ก็ยากมหาศาล สิ่งที่ช่วยได้มากที่สุดก็คือความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความจริง ไม่ใช่สิ่งที่น่าอับอายเมื่อมีเรื่องที่เราไม่รู้ แต่เป็นทักษะที่ผู้นำทั้งหลายต้องฝึกฝนให้เป็นนิสัย เมื่อไม่รู้ให้ตอบตามตรง และขอความช่วยเหลือจากคนมีความรู้ความสามารถ อย่ามองว่าเป็นพฤติกรรมนี้เป็นเรื่องของคนอ่อนแอ กลับกันเป็นการแสดงออกถึงความเข้มแข็งอย่างที่สุด เพราะกล้าหาญที่จะยอมรับความจริงในเรื่องที่ไม่รู้หรือทำไม่ได้ หัวหน้าที่ทำเช่นนี้ได้ถือว่าน่าชื่นชมสุดๆ
  4. รู้กว้าง สร้างวิสัยทัศน์ – บางครั้งหัวหน้าอาจไม่มีความรู้และความชำนาญในงานระดับปฏิบัติการอย่างลึกซึ้งเท่าลูกน้อง เพราะไม่ได้อยู่หน้างานอย่างใกล้ชิดทุกวัน แต่หัวหน้าก็จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องอื่น ๆ ที่ลูกน้องไม่รู้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวิสัยทัศน์ยาวไกล การวางกลยุทธ์อย่างแยบคาย การตัดสินใจอย่างรอบคอบ การบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ อย่างราบรื่น หรือแม้แต่การแก้ปัญหาอย่างเฉียบคม ความรู้แบบกว้าง ๆ นี่แหละที่จะเป็นตัวช่วยเพิ่มมูลค่าของหัวหน้า และเรียกความศรัทธาจากลูกน้องได้เป็นอย่างดี
  5. ให้เครดิต เสริมสร้างกำลังใจ – ให้กำลังใจคนทำงานเก่ง ๆ ด้วยการถ่ายทอดเรื่องราวความสำเร็จในการทำงานของพวกเขาให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้บริหารคนอื่น ๆ ฟัง ชื่นชมคนเก่งว่าเป็นคนสำคัญของทีมและขององค์กรโดยรวม ไม่ว่าใครก็ต้องรู้สึกดีทั้งนั้น เมื่อหัวหน้าหรือเจ้านายมองเห็นคุณค่าในตัวเรา
  6. ดัน “ดารา” – เปิดโอกาสให้ลูกน้องเก่ง ๆ ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เมื่อเห็นโอกาสที่ดีและเหมาะสม ก็ไม่ควรเก็บเขาไว้ที่เดิมจนไม่ได้มีโอกาสเติบโต ส่งเสริมให้เขาได้มีโอกาสรับผิดชอบงานใหม่ ๆ ที่ท้าทาย และเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งได้เติบโตในสายงานขึ้นเป็นลำดับ
  7. กำจัดความกลัว สร้างความมั่นใจ – คนทั่ว ๆ ไปย่อมมีความกลัวในเรื่องต่าง ๆ เป็นธรรมดา ทั้งกลัวไม่เป็นที่รัก กลัวไม่ดีพอ กลัวไม่เข้าพวก ฯลฯ ความกลัวเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของความไม่มั่นใจและไม่เป็นตัวของตัวเอง วิธีการรับมือกับความกลัวไม่ใช่เรื่องยาก เพียงยอมรับความกลัวด้วยความมั่นใจ แล้วเดินหน้าต่อไป ให้เตือนตนเองเสมอว่าการจ้างและพัฒนาคนที่มีความสามารถเป็นสิ่งที่เจ้านายและหัวหน้าที่ดีควรทำ เพื่อผลดีของทีมและเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กร